n

n

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 02/12/57
เรียนครั้งที่ 16 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
- ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครูออกมานำเสนอทุกคน
วิจัย(Research) 
  **ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  **การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  **ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณืแบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
  **การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
  **การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
  **ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
  **เรียนรู้วิทยาศาสตร์
  **เสียงในการได้ยิน
  = เรื่องราวของเสียง 
  **จิตวิทยาศาตร์
  = การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน

- ต่อมาอาจารย์นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่เคยทำแผน 5 คน แล้วช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคน แล้วเลือกอันที่ดีที่สุดส่งอาจารย์เพียง 1 แผ่นนั้นเอง


- และสุดท้ายอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษานำของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เคยประดิษฐ์ เขียนชื่อแล้วนำไปส่งที่ห้องพักอาจารย์ตามก่องแต่ล่ะกลุ่มเรียน

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการนำเสนองานต่างๆทั้งในเรื่องของวิจัย หรือการดูโทรทัศน์ครู เราสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในเรื่องของความเหมาะสมในการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย และการทำแผ่นพับก็เป็นประโยชน์มากๆในเรื่องของการรดมความคิด การทำงานเป็นระบบและนำไปใช้ได้จริงนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมแผ่นพับ การช่วยออกความคิดเห็นนั้นเอง
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันช่วยทำงานที่อาจารย์สั่งกันอย่างตั้งใจ
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะคนให้ฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์เป็นกระดาษมาให้นักศึกษาทำงานนั้นเอง


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25/11/57
เรียนครั้งที่ 15 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)ของแต่ละคน
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
**การกำเนิดของเสียง 

= การใช้ช้อนซ้อม/โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน
**สารอาหารในชีวิตประจำวัน 
= นำแกงส้มมาแล้วนำกระดาษทดลองจุ่มลงไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
**ไฟฟ้าและพรรณพืช
= สำรวจ/สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
วิจัย(Research)
**ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
= การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ
**ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
**การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร 
= การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล

การทำ"Waffle"


ส่วนผสม(Compound)

1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)

ขั้นตอนการทำ(Step)
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้


2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน


3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป


4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้


5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้


6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์


7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้


8.รอจนสุกก็จะได้ออกมาเป็นหน้าตาแบบนี้

ภาพเพิ่มเติมค่ะ
(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการสอนทำอาหารได้ในหลายเรื่องมาก และเด็กๆก็ยังชอบมากด้วย เพราะเด็กๆสามารถลงมือทำจริงหรือปฏิบัติได้จริง แถมยังได้สอนในเรื่องของอุปกรณ์หรือวัสดุต่างๆในการทำอาหาร เด็กจึงมีความสนใจมากและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันช่วยทำอาหารที่อาจารย์นำอุปกรณ์มาให้ทำ คือการทำวาฟเฟิลนั้นเอง
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะคนให้ฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการทำอาหารมาให้นักศึกษาได้ทำ บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 18/11/57
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)

ในวันนี้ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วนำเสนองานอีก3กลุ่มคือ

กลุ่มนกหงษ์หยก แผนวันอังคาร

กลุ่มสับปะรด แผนวันอังคาร

กลุ่มส้ม แผนวันพฤหัสบดี


กลุ่มที่2 นกหงษ์หยก (Jade bird)
วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับนกหงษ์หยกโดยเปรียบเทียบความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ได้แก่พันธ์เยอรมันกับพันธ์สตีโนมีการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาดีมีการทำแผ่นวงกลมเป็นรูปสีต่างๆเพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นสีชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อบกพร่อง คือควรทำตารางแยกลักษณะให้ชัดเจน เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และแบ่งชนิดสายพันธ์ของนกที่จะสอนเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นชัดเจนความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ อันไหนวาดรูปได้ก็ให้วาดเพื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กจะได้เข้าใจเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก เวลาถามควรไล่ระดับในการถามเพื่อให้เด็กสังเกตเหมือนกันโดยเริ่มจากใบหน้าลงมาสู่เท้า เสร็จแล้วก็มาหาความสัมพันธ์โดยหาความเหมือนก่อนอันไหนหาแล้วก็วงไว้เพื่อให้เด็กรู้ว่าอันไหนเอาไปแล้วบ้าง

กลุ่มที่8 สับปะรด (Pine apple)
วิธีการสอน กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวังเริ่มขั้นนำด้วยการเล่านิทาน"น้องหนูนากับสับปะรด" มีการนำรูปมาให้ดูประกอบเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกตจากภาพ
ข้อบกพร่อง ควรพูดเป็นขั้นตอนอย่าเพิ่งรีบร้อนสอนไปเป็นขั้นๆ ครูควรถามคำถามให้ชัดเจน เช่น เด็กๆคิดว่าภาพนี้เขาทำอะไรอยู่คะ? เด็กตอบว่าคนคัดแยกสับปะรด เราอาจถามต่อว่า คนที่เขาคัดแยกสับปะรดมีอาชีพอะไรคะ? แล้วนำสับปะรดที่คัดแยกไปทำอะไรคะ? เด็กอาจตอบว่านำไปขาย เราก็บอกต่อไปว่าไปขายแล้วได้เงินทำให้เกิดรายได้ เด็กจะได้เปรียบเทียบและรู้ว่าอาชีพนี้ทำให้เกิดรายได้ และการสอนเด็กในเรื่องของข้อควรระวังควรสอนเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น การทานสับปะรดต้องล้างมือก่อนเป็นต้น

กลุ่มที่9 ส้ม (Orange)
วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์จากการแปรรูป เริ่มต้นด้วยคำคล้องจองเกี่ยวกับประโยชน์จากส้ม มีการนำเสนอด้วยของจริงมีการถามถึงสิ่งที่หยิบขึ้นมาว่าเป็นอะไรมีประโยชน์อย่างไรและข้อควรระวังมีอะไรบ้าง
ข้อบกพร่อง ควรวางของจากซ้ายไปขวาเพราะเป็นกฏที่ต้องทำเพราะเราเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา ครูควรยืนข้างหลังไม่บังสิ่งของที่จะสอน คำคล้องจองควรมีชาตร์เพลงให้เด็กอ่านเพราะเด็กยังไม่รู้จักเพลงครูควรถามเด็กว่าประโยชน์ของส้มที่ได้จากการแปรรูปมีอะไรบ้าง?เด็กตอบแล้วบันทึกข้อมูล นอกเหนือจากนี้ยังมีอะไรอีกบ้างคะ? เด็กตอบพร้อมบันทึกข้อมูล ครููอาจให้เด็กแต่ละคนออกมาหยิบเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นควรสอนเด็กในเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น สเปย์กลิ่นส้มประโยชน์คือทำให้ห้องมีกลิ่นหอมข้อควรระวังคือไม่ควรฉีดใส่หน้าไม่ฉีดต้นลมเพราะจะทำให้เกิดอันตราย

***ต่อมาเป็นการออกมาอ่านบทสรุปวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)

วิจัย(Research)

- เรื่องผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

โทรทัศน์ครู(Teachers TV)

- เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน

- เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5

- เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร

***กิจกรรมในห้องเรียนทำไข่ทาโกยากิ (Cooking)

เป็นกิจกรรมง่ายๆที่เราสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เด็กๆก็จะเกิดการเรียนรู้นั้นเอง

ส่วนผสม (Ingredient)

1.ไข่ไก่ (Egg)     2.ข้าวสวย (Rice)

3.ผักต่างๆ(แครอทcarrot /ต้นหอม leek)

4.ปูอัด (a crab compresses)     5.ซอสปรุงรส

6.เนย (better)

วิธีการทำ (How to do)

1.ตีไข่ใส่ชาม

2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี

3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ

4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้



(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย เมื่อมีแผนแล้ว การสอนก็ยิ่งมีความจำเป็นมากเพราะเราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้รับความรู้ ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และเด็กสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานที่กำลังนำเสนอของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันทุกคน
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการทำอาหารมาให้นักศึกษาได้ทำ บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์


วีดีโอจากYoutube  << คลิกดูเพิ่มเติมได้ค่่ะ ^^

สรุปการดูโทรทัศน์ครู (Teachers TV)
เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
สัมภาษณ์ ครูประกอบแก้ว เงินกร และครูวาสนา พรมตา 
(กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนปทุมวัน)
    การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เด็กนั้นรักในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรียนแล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ เรียนแล้วเกิดความสนุก เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เกิดความสงสัยแล้วอยากจะถาม เมื่อเรียนแล้วเกิดความสนุกสนาน เด็กก็เกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นเอง
     ซึ่งเด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์ เค้าจะสนใจเนื้อหาที่ครูสอน  ชอบซักถามและมักมีข้อสงสัยตลอดเวลา ต่างกับเด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์ ก็จะสังเกตได้ว่าเค้าไม่ค่อยถามคุณครู จะนิ่งเงียบ  เรียนไม่สนุก และไม่ค่อยให้ความสนใจสิ่งต่างๆนั้นเอง
     วิธีการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนั้น เราจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็กนั้นมีความน่าสนใจ เห็นแล้วอยากเรียนอยากลงมือปฏิบัติ เช่นในการทดลอง ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทดทองให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้ นอกจากนี้การเตรียมตัวของครูก็เป็นสิ่งสำคัญ  ถ้าในเรื่องการสอนแบบบรรยาย ต้องมีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาที่สนุกสนาน สอนเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เรื่องง่ายๆ เรื่องที่เด็กสามารถเห็นได้จริงและทดลองได้จริง และเนื้อหาควรจะที่สั้นกะทัดรัดน่าสนใจ ถ้าในเรื่องของการทดลองนั้นเด็กยิ่งให้ความสนใจอยู่แล้ว เพราะในการทดลองนั้นเป็นขั้นตอนที่เด็กชอบมาก เด็กได้ลงมือทำเองลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไรนั้นเอง
     ในการวัดผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมากขึ้น เด็กสนใจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เด็กรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น หรืออาจมีการสอบถามผู้ปกครองของเด็กเพิ่มเติม ว่าเวลาอยู่บ้านนั้นเด็กทำอะไรบ้างมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น
      สรุปคือจิตวิทยาศาสตร์คือการที่เด็กเป็นคนช่างสังเกต และต้องหัดสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน หมายถึงลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งจิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน  รอบคอบ  ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ประหยัด  การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์นั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

สรุปวิจัย

เรื่่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็ก
นักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
ของ
คุณ  ชยุดา  พยุงวงษ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2551


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11/11/57
เรียนครั้งที่ 13 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เราเขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆมากมาย กลุ่มเรียน102 มีทั้งหมด9กลุ่ม ซึ่งได้เรียงการนำเสนองานตามวันดังนี้   
    กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์       กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
    กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ       กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
    กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์          กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์ 
    กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร       กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
    กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี
***วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป***
v กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( Fruit ) v
v กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( Corn ) v
v กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมง ( Watermelon ) v
v กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย ( Banana ) >>กลุ่มของดิฉันค่ะ v
v กลุ่มที่6 หน่วยช้าง ( Elephant ) v
v กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ ( Butterfly ) v

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย เมื่อมีแผนแล้ว การสอนก็ยิ่งมีความจำเป็นมากเพราะเราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้รับความรู้ ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และเด็กสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน บทบาทเป็นคุณครูนั้นเอง

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานที่กำลังนำเสนอของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันทุกคน

Teacher= ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 04/11/57
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มต่างๆในเรื่องของหน่วยที่เคยทำ เพื่อเรียนเรื่องการเขียนแผน กลุ่มดิฉันคือ หน่วยกล้วย นอกจากนี้อาจารย์ได้แจกแผนตัวอย่างของรุ่นพี่เพื่อไว้ดูเป็นแบบอย่างในการทำงาน แล้วได้มีการพูดคุยกันเพื่อแบ่งงานให้ลงตัวและเหมาะสม โดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำนั้นเอง

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย ในการเขียนแผนนั้นต้องมีแบบแผน ไม่ใช่การเขียนอะไรก็ได้ตามใจชอบ ต้องคำนึ่งถึงความเป็นจริงและความถูกต้องรวมทั้งความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเด็ก การเขียนแผนจึงไม่ใช้เรื่องที่ง่ายๆเลย ต้องได้รับการฝึกฝนนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานกลุ่ม เกี่ยวกับการเขียนแผนเพื่อที่จะส่งในเร็วๆนี้

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานเขียนแผนของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = ในวันนี้อาจารย์ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนอย่างละเอียด อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะกลุ่มอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา