เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
วีดีโอจากYoutube << คลิกดูเพิ่มเติมได้ค่่ะ ^^
สรุปการดูโทรทัศน์ครู (Teachers TV)
เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
สัมภาษณ์ ครูประกอบแก้ว เงินกร และครูวาสนา พรมตา
(กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนปทุมวัน)
การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เด็กนั้นรักในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์
เรียนแล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ เรียนแล้วเกิดความสนุก เด็กอยากที่จะเรียนรู้
เกิดความสงสัยแล้วอยากจะถาม เมื่อเรียนแล้วเกิดความสนุกสนาน
เด็กก็เกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นเอง
ซึ่งเด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์ เค้าจะสนใจเนื้อหาที่ครูสอน ชอบซักถามและมักมีข้อสงสัยตลอดเวลา ต่างกับเด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์
ก็จะสังเกตได้ว่าเค้าไม่ค่อยถามคุณครู จะนิ่งเงียบ เรียนไม่สนุก
และไม่ค่อยให้ความสนใจสิ่งต่างๆนั้นเอง
วิธีการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนั้น
เราจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็กนั้นมีความน่าสนใจ เห็นแล้วอยากเรียนอยากลงมือปฏิบัติ
เช่นในการทดลอง ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทดทองให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้
นอกจากนี้การเตรียมตัวของครูก็เป็นสิ่งสำคัญ
ถ้าในเรื่องการสอนแบบบรรยาย ต้องมีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ
มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาที่สนุกสนาน สอนเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เรื่องง่ายๆ
เรื่องที่เด็กสามารถเห็นได้จริงและทดลองได้จริง และเนื้อหาควรจะที่สั้นกะทัดรัดน่าสนใจ
ถ้าในเรื่องของการทดลองนั้นเด็กยิ่งให้ความสนใจอยู่แล้ว เพราะในการทดลองนั้นเป็นขั้นตอนที่เด็กชอบมาก
เด็กได้ลงมือทำเองลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไรนั้นเอง
ในการวัดผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์
คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมากขึ้น
เด็กสนใจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เด็กรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น หรืออาจมีการสอบถามผู้ปกครองของเด็กเพิ่มเติม
ว่าเวลาอยู่บ้านนั้นเด็กทำอะไรบ้างมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น
สรุปคือจิตวิทยาศาสตร์คือการที่เด็กเป็นคนช่างสังเกต
และต้องหัดสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน
หมายถึงลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
ความมีเหตุผล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์นั้นเอง
ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น