n

n

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28/10/57
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)

(ภาพประกอบการเรียนการสอน)

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในเรื่องของการทดลอง เด็กๆจะสนุกกับการทดลอง ทำให้เด็กเกิดความสนใจและพัฒนาทางการเรียนรู้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันลงมือปฏิบัติและตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = ในวันนี้อาจารย์ได้มีสื่ออุปกรณ์มากมายมาให้นักศึกษาได้ทดลอง ทำให้นักศึกษามีความสนใจมาก และยังเข้าใจมากขึ้นเพราะได้เห็นของจริงและปฏิบัติจริง นอกจากนี้อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะมีขอเสนอแนะให้เราคิดและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อความเหมาะสมของงานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21/10/57
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในสัปดาห์นี้ต่อจากครั้งก่อนคือการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของเล่นของแต่ล่ะคน โดยออกมานำเสนอตามเลขที่ อธิบายอุปกรณ์ วิธีการเล่น พร้อมบอกว่าได้ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ยังไงบ้างนั้นเอง ซึ่งของเล่นของดิฉันคือ แก้วส่งเสียงค่ะ 

#ภาพประกอบการนำเสนอ

และต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำสิ่งประดิษฐ์จาก "แกนทิชชู่"

วัสดุอุปกรณ์( Material ) 1. แกนทิชู่ 2. ไหมพรม 
                                           3. กระดาษสี 4. ที่เจาะรู 5. อุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ

วิธีทำ( Procedures )1. ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน
                                    2. ใช้ที่เจาะรู เจาะรูทั้ง 2 ฝั่นตรงข้าม
                                    3. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปในรูที่เจาะ ความยาวประมาณคล้องคอพอดี
                                    4. วาดรูปอะไรก็ได้ แล้วนำมาติดที่แกนทิชชู่

วิธีเล่น( How to Play ) 1. นำไหมพรมคล้องที่คอ
                                        2. ใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงไหมพรมที่อยู่ข้างล่าง
                                        3. ขยับซ้ายขวาไปมา แกนทิชชู่ก็จะค่อยๆเลื่อยขึ้นมา

#ภาพประกอบ

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้จริง เพราะเด็กๆเรียนรู้ผ่านการเล่น การที่เรารู้จักคิดรู้จักประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ เราจะสามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะเด็กจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และทำให้เรารู้ว่าของเล่นแบบใดที่เหมาะสมกับเด็ก ในเรื่องของความยากง่าย ความเหมาะสม ความน่าสนใจนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย การเตรียมงาน เตรียมอุปกรณ์มาทุกอย่าง และได้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย   

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี เพื่อนๆได้เตรียมพร้อมในการนำเสนอชิ้นงานมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว มีเพียงส่วนน้อยที่ยังไม่พ้อมในการนำเสนอ และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกัน

Teacher = อาจารย์ได้มีสื่ออุปกรณเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อที่การปฏิบัติหรือการทดลองจะได้เกิดความสะดวก และมักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาได้คิดตาม เพื่อที่ตัวเราจะได้นำไปปรับปรุงและแก้ไขได้

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

การจัดกิจกรรมหน่วย "กล้วย" (banana)

งานที่แก้ไขแล้วค่ะ มี2แบบ


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

สรุปความลับของอากาศ (Air)

(Knowledge)

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อสื่อของเล่น = แก้วส่งเสียง

***วัสดุอุปกรณ์หลักในการทำ ( Material )






1.) แก้วกระดาษ

2.) หลอดพลาสติก

3.) คลิปหนีบกระดาษ 

4.) น้ำเปล่า









อุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติม
( หากต้องการ )








***ขั้นตอนการทำ ( Procedures )
1.) เจาะรูที่ก้นของแก้วให้มีขนาดพอดีที่จะสามารถเสียบหลอดได้
2.) ใช้คลิปหนีบกระดาษเจาะยึดหลอดเพียงด้านเดียว ให้เป็นแนวขวางดังรูป
3.) นำหลอดที่ยึดด้วยคลิปหนีบกระดาษแล้ว ไปเสียบรูที่เจาะไว้ โดยใช้หลอดฝั่งที่ไม่มีคลิปเสียบเข้าไปทางปากแก้ว
4.) ดึงหลอดจากฝั่งของก้นแก้ว
5.) ดึงหลอดให้สุด จนหลอดฝั่งที่มีคลิปหนีบกระดาษติดก้นแก้วดังรูป
6.) ได้แก้วส่งเสียงมาแล้ว ^^

และสามารถตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อความสวยงามก็ได้

***วิธีการเล่น ( How to Play ) 








ใช้นิ้วมือจุ่มไปที่น้ำเปล่าเล็กน้อย แล้วรูดไปที่หลอดเป็นแนวยาว แก้วก็จะส่งเสียงออกมา









***รูปแบบการเล่น ( Style of play ) เล่นได้ 2 แบบคือ





1.) ตัดแก้วให้มีขนาดที่ต่างกัน แต่ขนาดของหลอดยังยาวเท่ากัน เมื่อรูดนิ้วมือไปที่หลอด เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป

2.) ตัดหลอดให้มีขนาดที่ต่างกัน แต่ขนาดของแก้วยังเท่าเดิม เมื่อรูดนิ้วมือไปที่หลอด เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป






***( สาเหตุที่แก้วส่งเสียงได้ )
   เพราะว่าเมื่อเรารูดนิ้วไปที่หลอดโดยใช้น้ำเป็นตัวช่วย ถ้าเราไม่ใช้น้ำก็จะไม่เกิดเสียง เพราะน้ำจะช่วยให้เกิดการสั้นสะเทือนที่หลอดได้ดี ต่อมาและหลอดจึงเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ทำให้เกิดคลื่นเสียง โดยมีแก้วที่มีช่องว่างตรงกลาง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังกล้องมากขึ้น เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบที่ผนังแก้วแล้วสั่นสะเทือนกลับไปมา ทำให้เสียงดังอยู่นานขึ้นอีกด้วย

สรุปได้ว่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นเสียงแล้วเดินทางเข้าสู่หูของเรา ทำให้เราได้ยินเสียงต่างๆนั้นเอง

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 14/10/57
เรียนครั้งที่ 9 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่พร้อมในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ โดยที่ยังไม่ต้องมีอุปกรณ์ก็ได้ เพียงแต่มาอธิบายเกี่ยวกับชิ้นงานนั้นว่าทำอย่างไร เล่นอย่างไรเป็นต้น เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำได้
   โดยที่ดิฉันได้ออกไปนำเสนอพร้อมมีอุปกรณ์ประกอบคือ
ชื่อของเล่น = แก้วส่งเสียง
อุปกรณ์ = 1. แก้วกระดาษ
                 2. หลอดพลาสติก
                 3. คลิปหนีบกระดาษ
                 4. น้ำเปล่า
วิธีทำ = 1. เจาะรูที่ก้นของแก้วกระดาษให้มีขนาดพอดีกับหลอดที่สามารถเสียบเข้าได้ 
             2. ใช้คลิปหนีบกระดาษเจาะปลายหลอดด้านใดก็ได้เป็นแนวขวาง
             3. นำหลอดที่ยึดด้วยคลิปหนีบกระดาษแล้ว เสียบเข้าไปในรูที่เจาะไว้ที่ก้นขอแก้ว                          กระดาษ โดยใช้หลอดฝั่งที่ไม่มีคลิปหนีบกระดาษเสียบรูเข้าทางปากแก้ว
             4. เตรียมน้ำเปล่าไว้
วิธีเล่น = ใช้นิ้วมืดจุ่มไปที่น้ำเล็กน้อย แล้วรูดหลอดเป็นแนวยาว แก้วก้จะส่งเสียงออกมา
รูปแบบการเล่น = เล่นได้2แบบด้วยกันคือ
             1. ตัดแก้วให้มีขนาดต่างกัน แต่ขนาดของหลอดยังเท่าเดิม เมื่อรูดไปที่หลอด                                เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป
             2. ตัดหลอดให้มีขนาดต่างกัน แต่ขนาดของแก้วยังเท่าเดิม เมื่อรูดไปที่หลอด                                เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป
**รูปประกอบ
ต่อมาเมื่อเพื่อนๆที่พร้อมนำเสนอ ได้เสนองานครบทุกคนแล้วอาจารย์ก็ได้แจ้งงานเก่าๆให้นักศึกษาฟัง เพื่อเกิดความเข้าใจที่ตรงกัน แล้วก็บอกให้เตรียมอุปกรณ์มาให้พร้อมในคราวหน้าด้วย จะได้นำเสนองานให้สมบูรณ์

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการประดิษฐ์ของเล่นนั้น ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ความสนุกสนานและอีกหลายๆด้านซึ่งเป็นประโยชน์แก่เด็กอย่างมาก เพราะเด็กปฐมวัยเรียนรู้ผ่านการเล่นนั้นเอง การเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย    

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนสายนิดหน่อย แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย การเตรียมงาน เตรียมอุปกรณ์มาทุกอย่าง และได้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย  

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี เพื่อนๆไม่ได้เตรียมพร้อมในการนำเสนอชิ้นงาน มีเพียงส่วนน้อยที่เตรียมมา และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติ่มเพื่อให้นักศึกษาไปปรับปรุงและคิดตาม ชิ้นงานของนักษานั้นดียิ่งๆขึ้นนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 07/10/57
เรียนครั้งที่ 8 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


# ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์การสอบของมหาวิทยาลัยค่ะ

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 30/09/57
เรียนครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


# ในวันนี้อาจารย์ติดธุระ
งานจิตอาสาตามรอยแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง วิทยากรโดย คุณ ปอ ทฤษฎี สหวงศ์ 
และได้แจ้งแล้วว่าจะมาเข้าสอนช้ากว่าเวลาปกติหน่อย ให้นักศึกษารอเรียน แต่เนื่องด้วยฝนตกหนักมาก ทำให้เพื่อนๆบางส่วนก็ได้กลับบ้านไปแล้วและคงคิดว่าอาจารย์ไม่สอนแล้วด้วย เพราะรอเป็นเวลานานแล้ว หัวหน้าห้องเลยโทรแจ้งกับอาจารย์ให้ทราบว่าเพื่อนๆกลับไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ อาจารย์จึงยกเลิกการเรียนการสอนในสัปดาห์นี้นั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา