n

n

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 02/12/57
เรียนครั้งที่ 16 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
- ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาที่ยังไม่นำเสนอวิจัย และโทรทัศน์ครูออกมานำเสนอทุกคน
วิจัย(Research) 
  **ผลการจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  **การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
  **ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดประสบการรณืแบบโครงการและแบบสืบเสาะหาความรู้
  **การคิดพิจารณาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
  **การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทางธรมชาติเนื้อสิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย
  **ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ธรรมชาติที่มีการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
  **เรียนรู้วิทยาศาสตร์
  **เสียงในการได้ยิน
  = เรื่องราวของเสียง 
  **จิตวิทยาศาตร์
  = การทำอย่างไรให้เด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ การสร้างบรรยากาศการเรียน

- ต่อมาอาจารย์นักศึกษานั่งตามกลุ่มที่เคยทำแผน 5 คน แล้วช่วยกันทำแผ่นพับเรื่องสายสัมพันธ์ผู้ปกครองและนักเรียน โดยแจกกระดาษให้นักศึกษาทุกคน แล้วเลือกอันที่ดีที่สุดส่งอาจารย์เพียง 1 แผ่นนั้นเอง


- และสุดท้ายอาจารย์ได้บอกให้นักศึกษานำของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เคยประดิษฐ์ เขียนชื่อแล้วนำไปส่งที่ห้องพักอาจารย์ตามก่องแต่ล่ะกลุ่มเรียน

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการนำเสนองานต่างๆทั้งในเรื่องของวิจัย หรือการดูโทรทัศน์ครู เราสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้ในเรื่องของความเหมาะสมในการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย และการทำแผ่นพับก็เป็นประโยชน์มากๆในเรื่องของการรดมความคิด การทำงานเป็นระบบและนำไปใช้ได้จริงนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมแผ่นพับ การช่วยออกความคิดเห็นนั้นเอง
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันช่วยทำงานที่อาจารย์สั่งกันอย่างตั้งใจ
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะคนให้ฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์เป็นกระดาษมาให้นักศึกษาทำงานนั้นเอง


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 25/11/57
เรียนครั้งที่ 15 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)ของแต่ละคน
โทรทัศน์ครู(Teachers TV)
**การกำเนิดของเสียง 

= การใช้ช้อนซ้อม/โลหะที่มีคุณสมบัติต่างกันมาตีกัน
**สารอาหารในชีวิตประจำวัน 
= นำแกงส้มมาแล้วนำกระดาษทดลองจุ่มลงไปสังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
**ไฟฟ้าและพรรณพืช
= สำรวจ/สังเกตการเจริญเติบโตของพรรณพืชการทดลองโดยใช้กระแสไฟฟ้าทำกับน้ำเกิดOxygen ช่วยในการเจริญเติบโตของพืช
วิจัย(Research)
**ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรูเรื่องสีธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 
= การลงมือปฏิบัติ/คั้นน้ำจากผัก/ผลไม้/ดอกไม้เพื่อเอาสีมาทำผสมอาหารหรือทำงานศิลปะ
**ผลการจัดกิจกรรมเรื่องแสงที่มัต่อทักษะการแสวงหาความรู้
**การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมเครื่องดื่มสมุนไพร 
= การจำแนก/สังเกต/สื่อความหมายของข้อมูล

การทำ"Waffle"


ส่วนผสม(Compound)

1.แป้ง(Powder)
2.เนย(Better)
3.ไข่ไก่ (Egg)
4.น้ำเปล่า(Water)

ขั้นตอนการทำ(Step)
1.เทแป้งลงในภาชนะที่เตรียมไว้


2.นำไข่ใส่ลงไปตามด้วยเนยจืดคนให้เข้ากัน


3.เติมน้ำเพื่อไม่ให้แป้งข้นจนเกินไป


4.คนจนแป้งเข้าที่เป็นเนื้อเดียวกันก็จะได้แบบนี้


5.แบ่งแป้งใส่ถ้วยที่เตรียมไว้


6.นำเนยทาที่แม่พิมพ์ที่เตรียมไว้เพื่อไม่ให้แป้งติดแม่พิมพ์


7.นำแป้งที่แบ่งไว้ในถ้วยเทลงในแม่พิมพ์ที่เตรียมไว้


8.รอจนสุกก็จะได้ออกมาเป็นหน้าตาแบบนี้

ภาพเพิ่มเติมค่ะ
(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการสอนทำอาหารได้ในหลายเรื่องมาก และเด็กๆก็ยังชอบมากด้วย เพราะเด็กๆสามารถลงมือทำจริงหรือปฏิบัติได้จริง แถมยังได้สอนในเรื่องของอุปกรณ์หรือวัสดุต่างๆในการทำอาหาร เด็กจึงมีความสนใจมากและสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันช่วยทำอาหารที่อาจารย์นำอุปกรณ์มาให้ทำ คือการทำวาฟเฟิลนั้นเอง
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะคนให้ฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการทำอาหารมาให้นักศึกษาได้ทำ บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 18/11/57
เรียนครั้งที่ 14 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)

ในวันนี้ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วนำเสนองานอีก3กลุ่มคือ

กลุ่มนกหงษ์หยก แผนวันอังคาร

กลุ่มสับปะรด แผนวันอังคาร

กลุ่มส้ม แผนวันพฤหัสบดี


กลุ่มที่2 นกหงษ์หยก (Jade bird)
วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเกี่ยวกับนกหงษ์หยกโดยเปรียบเทียบความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ได้แก่พันธ์เยอรมันกับพันธ์สตีโนมีการเตรียมสื่ออุปกรณ์มาดีมีการทำแผ่นวงกลมเป็นรูปสีต่างๆเพื่อให้เด็กเข้าใจและเห็นสีชัดเจนยิ่งขึ้น
ข้อบกพร่อง คือควรทำตารางแยกลักษณะให้ชัดเจน เช่น สี ขนาด รูปร่าง ส่วนประกอบ และแบ่งชนิดสายพันธ์ของนกที่จะสอนเพื่อเปรียบเทียบให้เด็กเห็นชัดเจนความเหมือนต่างของนกสองสายพันธ์ อันไหนวาดรูปได้ก็ให้วาดเพื่อให้เด็กเห็นภาพเด็กจะได้เข้าใจเพราะเด็กยังอ่านหนังสือไม่ออก เวลาถามควรไล่ระดับในการถามเพื่อให้เด็กสังเกตเหมือนกันโดยเริ่มจากใบหน้าลงมาสู่เท้า เสร็จแล้วก็มาหาความสัมพันธ์โดยหาความเหมือนก่อนอันไหนหาแล้วก็วงไว้เพื่อให้เด็กรู้ว่าอันไหนเอาไปแล้วบ้าง

กลุ่มที่8 สับปะรด (Pine apple)
วิธีการสอน กลุ่มนี้จะสอนในเรื่องของประโยชน์และข้อควรระวังเริ่มขั้นนำด้วยการเล่านิทาน"น้องหนูนากับสับปะรด" มีการนำรูปมาให้ดูประกอบเพื่อให้เด็กเกิดการสังเกตจากภาพ
ข้อบกพร่อง ควรพูดเป็นขั้นตอนอย่าเพิ่งรีบร้อนสอนไปเป็นขั้นๆ ครูควรถามคำถามให้ชัดเจน เช่น เด็กๆคิดว่าภาพนี้เขาทำอะไรอยู่คะ? เด็กตอบว่าคนคัดแยกสับปะรด เราอาจถามต่อว่า คนที่เขาคัดแยกสับปะรดมีอาชีพอะไรคะ? แล้วนำสับปะรดที่คัดแยกไปทำอะไรคะ? เด็กอาจตอบว่านำไปขาย เราก็บอกต่อไปว่าไปขายแล้วได้เงินทำให้เกิดรายได้ เด็กจะได้เปรียบเทียบและรู้ว่าอาชีพนี้ทำให้เกิดรายได้ และการสอนเด็กในเรื่องของข้อควรระวังควรสอนเรื่องที่ใกล้ตัว เช่น การทานสับปะรดต้องล้างมือก่อนเป็นต้น

กลุ่มที่9 ส้ม (Orange)
วิธีการสอน กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์จากการแปรรูป เริ่มต้นด้วยคำคล้องจองเกี่ยวกับประโยชน์จากส้ม มีการนำเสนอด้วยของจริงมีการถามถึงสิ่งที่หยิบขึ้นมาว่าเป็นอะไรมีประโยชน์อย่างไรและข้อควรระวังมีอะไรบ้าง
ข้อบกพร่อง ควรวางของจากซ้ายไปขวาเพราะเป็นกฏที่ต้องทำเพราะเราเขียนหนังสือจากซ้ายไปขวา ครูควรยืนข้างหลังไม่บังสิ่งของที่จะสอน คำคล้องจองควรมีชาตร์เพลงให้เด็กอ่านเพราะเด็กยังไม่รู้จักเพลงครูควรถามเด็กว่าประโยชน์ของส้มที่ได้จากการแปรรูปมีอะไรบ้าง?เด็กตอบแล้วบันทึกข้อมูล นอกเหนือจากนี้ยังมีอะไรอีกบ้างคะ? เด็กตอบพร้อมบันทึกข้อมูล ครููอาจให้เด็กแต่ละคนออกมาหยิบเพื่อให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้นควรสอนเด็กในเรื่องใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน เช่น สเปย์กลิ่นส้มประโยชน์คือทำให้ห้องมีกลิ่นหอมข้อควรระวังคือไม่ควรฉีดใส่หน้าไม่ฉีดต้นลมเพราะจะทำให้เกิดอันตราย

***ต่อมาเป็นการออกมาอ่านบทสรุปวิจัย(Research)และโทรทัศน์ครู(Teachers TV)

วิจัย(Research)

- เรื่องผลการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

โทรทัศน์ครู(Teachers TV)

- เรื่องรวมสีน้ำยาล้างจาน

- เรื่องสร้างพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้กับประสาทสัมผัสทั้ง 5

- เรื่องกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

- เรื่องดินน้ำมันลอยได้อย่างไร

***กิจกรรมในห้องเรียนทำไข่ทาโกยากิ (Cooking)

เป็นกิจกรรมง่ายๆที่เราสามารถนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยได้ เป็นกิจกรรมที่สนุกสนาน เด็กๆก็จะเกิดการเรียนรู้นั้นเอง

ส่วนผสม (Ingredient)

1.ไข่ไก่ (Egg)     2.ข้าวสวย (Rice)

3.ผักต่างๆ(แครอทcarrot /ต้นหอม leek)

4.ปูอัด (a crab compresses)     5.ซอสปรุงรส

6.เนย (better)

วิธีการทำ (How to do)

1.ตีไข่ใส่ชาม

2.นำส่วนผสมต่างๆใส่ลงไปในไข่ในอัตราส่วนที่พอดี

3.นำเนยใส่ในหลุมกระทะ

4.คนส่วนผสมให้เข้ากันจากนั้นนำไปเทลงในหลุมกระทะที่เตรียมไว้



(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย เมื่อมีแผนแล้ว การสอนก็ยิ่งมีความจำเป็นมากเพราะเราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้รับความรู้ ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และเด็กสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม
Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานที่กำลังนำเสนอของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันทุกคน
Teacher = ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้ายอาจารย์ได้มีอุปกรณ์ในการทำอาหารมาให้นักศึกษาได้ทำ บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปโทรทัศน์ครู


เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์


วีดีโอจากYoutube  << คลิกดูเพิ่มเติมได้ค่่ะ ^^

สรุปการดูโทรทัศน์ครู (Teachers TV)
เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
สัมภาษณ์ ครูประกอบแก้ว เงินกร และครูวาสนา พรมตา 
(กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนปทุมวัน)
    การปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ เราจะทำอย่างไรให้เด็กนั้นรักในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรียนแล้วไม่รู้สึกน่าเบื่อ เรียนแล้วเกิดความสนุก เด็กอยากที่จะเรียนรู้ เกิดความสงสัยแล้วอยากจะถาม เมื่อเรียนแล้วเกิดความสนุกสนาน เด็กก็เกิดจิตวิทยาศาสตร์นั้นเอง
     ซึ่งเด็กที่มีจิตวิทยาศาสตร์ เค้าจะสนใจเนื้อหาที่ครูสอน  ชอบซักถามและมักมีข้อสงสัยตลอดเวลา ต่างกับเด็กที่ไม่มีจิตวิทยาศาสตร์ ก็จะสังเกตได้ว่าเค้าไม่ค่อยถามคุณครู จะนิ่งเงียบ  เรียนไม่สนุก และไม่ค่อยให้ความสนใจสิ่งต่างๆนั้นเอง
     วิธีการสร้างจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กนั้น เราจะต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนให้กับเด็กนั้นมีความน่าสนใจ เห็นแล้วอยากเรียนอยากลงมือปฏิบัติ เช่นในการทดลอง ครูจะต้องเตรียมอุปกรณ์ในการทดทองให้กับเด็ก เพราะว่าเด็กยังไม่สามารถจัดหาอุปกรณ์เองได้ นอกจากนี้การเตรียมตัวของครูก็เป็นสิ่งสำคัญ  ถ้าในเรื่องการสอนแบบบรรยาย ต้องมีเทคนิคการสอนที่น่าสนใจ มีการเตรียมความพร้อมเนื้อหาที่สนุกสนาน สอนเรื่องที่ใกล้ตัวเด็ก เรื่องง่ายๆ เรื่องที่เด็กสามารถเห็นได้จริงและทดลองได้จริง และเนื้อหาควรจะที่สั้นกะทัดรัดน่าสนใจ ถ้าในเรื่องของการทดลองนั้นเด็กยิ่งให้ความสนใจอยู่แล้ว เพราะในการทดลองนั้นเป็นขั้นตอนที่เด็กชอบมาก เด็กได้ลงมือทำเองลงมือปฏิบัติจริง จึงทำให้เกิดประสบการณ์ตรง ทำให้เด็กเรียนรู้ว่าอะไรเป็นอย่างไรนั้นเอง
     ในการวัดผลที่จะทำให้รู้ว่าเด็กมีจิตวิทยาศาสตร์ คือการสังเกตพฤติกรรมของเด็ก เช่น เด็กมีการช่างสังเกตมากขึ้น เด็กสนใจสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เด็กรู้ถึงความแตกต่างของสิ่งที่พบเห็น หรืออาจมีการสอบถามผู้ปกครองของเด็กเพิ่มเติม ว่าเวลาอยู่บ้านนั้นเด็กทำอะไรบ้างมีพฤติกรรมเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น
      สรุปคือจิตวิทยาศาสตร์คือการที่เด็กเป็นคนช่างสังเกต และต้องหัดสังเกตอย่างละเอียดถี่ถ้วน หมายถึงลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์  ซึ่งจิตวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่  ความสนใจใฝ่รู้  ความมุ่งมั่น  อดทน  รอบคอบ  ความรับผิดชอบ  ความซื่อสัตย์  ประหยัด  การร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความมีเหตุผล  การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์นั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

สรุปวิจัย

เรื่่อง การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็ก
นักวิจัยที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัย

ปริญญานิพนธ์
ของ
คุณ  ชยุดา  พยุงวงษ์

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา 
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2551


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 11/11/57
เรียนครั้งที่ 13 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในวันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกกลุ่มนำเสนองานหน้าชั้นเรียน โดยการสอบสอนตามแผนการเรียนที่เราเขียนส่งอาจารย์ ซึ่งมีหน่วยต่างๆมากมาย กลุ่มเรียน102 มีทั้งหมด9กลุ่ม ซึ่งได้เรียงการนำเสนองานตามวันดังนี้   
    กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ใช้แผนวันจันทร์       กลุ่มที่2 หน่วยนกหงส์หยกใช้แผนวันอังคาร
    กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพดใช้แผนวันพุธ       กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมงใช้แผนวันพฤหัสบดี
    กลุ่มที่5 หน่วยกล้วยใช้แผนวันศุกร์          กลุ่มที่6 หน่วยช้างใช้แผนวันจันทร์ 
    กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อใช้แผนวันอังคาร       กลุ่มที่8 หน่วยสัปปะรดใช้แผนวันพุธ
    กลุ่มที่9 หน่วยส้มใช้แผนวันพฤหัสบดี
***วันนี้มีการนำเสนองานทั้งหมด 6กลุ่ม อีก3กลุ่มนำเสนออาทิตย์ต่อไป***
v กลุ่มที่1 หน่วยผลไม้ ( Fruit ) v
v กลุ่มที่3 หน่วยข้าวโพด ( Corn ) v
v กลุ่มที่4 หน่วยแตงโมง ( Watermelon ) v
v กลุ่มที่5 หน่วยกล้วย ( Banana ) >>กลุ่มของดิฉันค่ะ v
v กลุ่มที่6 หน่วยช้าง ( Elephant ) v
v กลุ่มที่7 หน่วยผีเสื้อ ( Butterfly ) v

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย เมื่อมีแผนแล้ว การสอนก็ยิ่งมีความจำเป็นมากเพราะเราจะสอนอย่างไรให้เด็กได้รับความรู้ ทำอย่างไรให้เด็กเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจ และเด็กสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการออกไปนำเสนอหน้าชั้นเรียน บทบาทเป็นคุณครูนั้นเอง

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานที่กำลังนำเสนอของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันทุกคน

Teacher= ในวันนี้อาจารย์จะคอยชี้แนะให้แต่ล่ะกลุ่มฟังถึงข้อที่ควรปรับปรุง เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ได้จริง อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะเรื่องอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 04/11/57
เรียนครั้งที่ 12 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มต่างๆในเรื่องของหน่วยที่เคยทำ เพื่อเรียนเรื่องการเขียนแผน กลุ่มดิฉันคือ หน่วยกล้วย นอกจากนี้อาจารย์ได้แจกแผนตัวอย่างของรุ่นพี่เพื่อไว้ดูเป็นแบบอย่างในการทำงาน แล้วได้มีการพูดคุยกันเพื่อแบ่งงานให้ลงตัวและเหมาะสม โดยมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำนั้นเอง

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะว่าการเขียนแผนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาในการทำงานในวิชาชีพครู ในการเขียนแผนนั้นต้องเป็นประโยชน์และใช้ได้จริงกับเด็กปฐมวัย เพื่อที่จะได้เกิดประโยชน์แก่ตัวเด็กด้วย ในการเขียนแผนนั้นต้องมีแบบแผน ไม่ใช่การเขียนอะไรก็ได้ตามใจชอบ ต้องคำนึ่งถึงความเป็นจริงและความถูกต้องรวมทั้งความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับเด็ก การเขียนแผนจึงไม่ใช้เรื่องที่ง่ายๆเลย ต้องได้รับการฝึกฝนนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนงานกลุ่ม เกี่ยวกับการเขียนแผนเพื่อที่จะส่งในเร็วๆนี้

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ และรวมกลุ่มกันคุยหารือเกี่ยวกับงานเขียนแผนของกลุ่มตัวเอง ส่วนใหญ่ก็มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = ในวันนี้อาจารย์ได้มีการอธิบายเกี่ยวกับการเขียนแผนอย่างละเอียด อาจารย์มักมีการถามเจาะจงไปทีล่ะกลุ่มอยู่เสมอเพื่อที่ให้นักศึกษามีความเข้าใจอย่างแท้จริง และอาจารย์ยังคอยถามอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ไม่เข้าหรือเปล่า สามารถถามได้ เพื่อที่อาจารย์จะได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานให้ถูกต้องและเหมาะสม และสุดท้าย บรรยากาศในห้องเรียนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไป เพราะอาจารย์ใจดี เป็นคนสนุกสนานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 28/10/57
เรียนครั้งที่ 11 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)

(ภาพประกอบการเรียนการสอน)

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ในเรื่องของการทดลอง เด็กๆจะสนุกกับการทดลอง ทำให้เด็กเกิดความสนใจและพัฒนาทางการเรียนรู้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยปฏิบัติตามและจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันลงมือปฏิบัติและตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = ในวันนี้อาจารย์ได้มีสื่ออุปกรณ์มากมายมาให้นักศึกษาได้ทดลอง ทำให้นักศึกษามีความสนใจมาก และยังเข้าใจมากขึ้นเพราะได้เห็นของจริงและปฏิบัติจริง นอกจากนี้อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะมีขอเสนอแนะให้เราคิดและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อความเหมาะสมของงานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 21/10/57
เรียนครั้งที่ 10 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434


(Knowledge)
ในสัปดาห์นี้ต่อจากครั้งก่อนคือการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของเล่นของแต่ล่ะคน โดยออกมานำเสนอตามเลขที่ อธิบายอุปกรณ์ วิธีการเล่น พร้อมบอกว่าได้ความรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ยังไงบ้างนั้นเอง ซึ่งของเล่นของดิฉันคือ แก้วส่งเสียงค่ะ 

#ภาพประกอบการนำเสนอ

และต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนทำสิ่งประดิษฐ์จาก "แกนทิชชู่"

วัสดุอุปกรณ์( Material ) 1. แกนทิชู่ 2. ไหมพรม 
                                           3. กระดาษสี 4. ที่เจาะรู 5. อุปกรณ์ตกแต่งต่างๆ

วิธีทำ( Procedures )1. ตัดแกนทิชชู่เป็น 2 ท่อน
                                    2. ใช้ที่เจาะรู เจาะรูทั้ง 2 ฝั่นตรงข้าม
                                    3. ใช้ไหมพรมใส่เข้าไปในรูที่เจาะ ความยาวประมาณคล้องคอพอดี
                                    4. วาดรูปอะไรก็ได้ แล้วนำมาติดที่แกนทิชชู่

วิธีเล่น( How to Play ) 1. นำไหมพรมคล้องที่คอ
                                        2. ใช้มือทั้ง 2 ข้างดึงไหมพรมที่อยู่ข้างล่าง
                                        3. ขยับซ้ายขวาไปมา แกนทิชชู่ก็จะค่อยๆเลื่อยขึ้นมา

#ภาพประกอบ

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้จริง เพราะเด็กๆเรียนรู้ผ่านการเล่น การที่เรารู้จักคิดรู้จักประดิษฐ์ของเล่นต่างๆ เราจะสามารถนำไปใช้ได้จริง เพราะเด็กจะให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และทำให้เรารู้ว่าของเล่นแบบใดที่เหมาะสมกับเด็ก ในเรื่องของความยากง่าย ความเหมาะสม ความน่าสนใจนั้นเอง

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย การเตรียมงาน เตรียมอุปกรณ์มาทุกอย่าง และได้ออกไปนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย   

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี เพื่อนๆได้เตรียมพร้อมในการนำเสนอชิ้นงานมากกว่าสัปดาห์ที่แล้ว มีเพียงส่วนน้อยที่ยังไม่พ้อมในการนำเสนอ และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกัน

Teacher = อาจารย์ได้มีสื่ออุปกรณเตรียมพร้อมอยู่เสมอเพื่อที่การปฏิบัติหรือการทดลองจะได้เกิดความสะดวก และมักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษาได้คิดตาม เพื่อที่ตัวเราจะได้นำไปปรับปรุงและแก้ไขได้

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

การจัดกิจกรรมหน่วย "กล้วย" (banana)

งานที่แก้ไขแล้วค่ะ มี2แบบ


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

สรุปความลับของอากาศ (Air)

(Knowledge)

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ของเล่นวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อสื่อของเล่น = แก้วส่งเสียง

***วัสดุอุปกรณ์หลักในการทำ ( Material )






1.) แก้วกระดาษ

2.) หลอดพลาสติก

3.) คลิปหนีบกระดาษ 

4.) น้ำเปล่า









อุปกรณ์ตกแต่งเพิ่มเติม
( หากต้องการ )








***ขั้นตอนการทำ ( Procedures )
1.) เจาะรูที่ก้นของแก้วให้มีขนาดพอดีที่จะสามารถเสียบหลอดได้
2.) ใช้คลิปหนีบกระดาษเจาะยึดหลอดเพียงด้านเดียว ให้เป็นแนวขวางดังรูป
3.) นำหลอดที่ยึดด้วยคลิปหนีบกระดาษแล้ว ไปเสียบรูที่เจาะไว้ โดยใช้หลอดฝั่งที่ไม่มีคลิปเสียบเข้าไปทางปากแก้ว
4.) ดึงหลอดจากฝั่งของก้นแก้ว
5.) ดึงหลอดให้สุด จนหลอดฝั่งที่มีคลิปหนีบกระดาษติดก้นแก้วดังรูป
6.) ได้แก้วส่งเสียงมาแล้ว ^^

และสามารถตกแต่งเพิ่มเติมเพื่อความสวยงามก็ได้

***วิธีการเล่น ( How to Play ) 








ใช้นิ้วมือจุ่มไปที่น้ำเปล่าเล็กน้อย แล้วรูดไปที่หลอดเป็นแนวยาว แก้วก็จะส่งเสียงออกมา









***รูปแบบการเล่น ( Style of play ) เล่นได้ 2 แบบคือ





1.) ตัดแก้วให้มีขนาดที่ต่างกัน แต่ขนาดของหลอดยังยาวเท่ากัน เมื่อรูดนิ้วมือไปที่หลอด เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป

2.) ตัดหลอดให้มีขนาดที่ต่างกัน แต่ขนาดของแก้วยังเท่าเดิม เมื่อรูดนิ้วมือไปที่หลอด เสียงที่ดังก็จะแตกต่างกันไป






***( สาเหตุที่แก้วส่งเสียงได้ )
   เพราะว่าเมื่อเรารูดนิ้วไปที่หลอดโดยใช้น้ำเป็นตัวช่วย ถ้าเราไม่ใช้น้ำก็จะไม่เกิดเสียง เพราะน้ำจะช่วยให้เกิดการสั้นสะเทือนที่หลอดได้ดี ต่อมาและหลอดจึงเกิดการสั่นสะเทือนขึ้น ทำให้เกิดคลื่นเสียง โดยมีแก้วที่มีช่องว่างตรงกลาง ทำหน้าที่ขยายเสียงให้ดังกล้องมากขึ้น เมื่อคลื่นเสียงไปกระทบที่ผนังแก้วแล้วสั่นสะเทือนกลับไปมา ทำให้เสียงดังอยู่นานขึ้นอีกด้วย

สรุปได้ว่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนเป็นคลื่นเสียงแล้วเดินทางเข้าสู่หูของเรา ทำให้เราได้ยินเสียงต่างๆนั้นเอง