n

n

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 23/09/57
เรียนครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

(Knowledge)
แล้วก็มีการออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน ซึ่งในสัปดาห์นี้มี 4 เรื่องคือ

1.) สอนเด็กปฐมวัยเรียนวิทย์จากเป็ดและไก่เลขที่ (ผู้นำเสนอ.. นภาวรรณ กรุดขุนเทียน)
ผู้เขียน ครูลำพรรณี  มืดขุนทด
= เด็กเรียนรู้ผ่านนิทาน เรื่อง หนูไก่คนเก่ง มี 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 นำเด็กร้องเพลงไก่และทำท่าทางประกอบอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 สนทนาตั้งคำถามกับเด็ก "อยากรู้จังไก่กับเป็ดเหมือนหรือต่างกันอย่างไร"
ขั้นที่ 3 ให้เด็กๆวาดภาพตามจินตนาการ และครูก็บันทึกคำพูดที่เด็กบอกลงภาพนั้นๆ

2.) สร้างแนวทางให้เด็กทดลองวิทยาศาสตร์ (ผู้นำเสนอ นางสาวสุธาสินี  ธรรมานนท์)
ผู้เขียน ดร.เทพปัญญา  พรหมขัติแก้ว
= 1.ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องรอบๆตัว
   2.ออกไปหาคำตอบพร้อมๆกับเด็ก
   3.เด็กเอาสิ่งนั้นมาตอบคำถามของเขาเอง ครูก็ช่วยเสริมเนื้อหาเข้าไป
   4.เอาสิ่งนี้มาให้เพื่อนช่วยคิด
   5.นำสิ่งนี้ไปเชื่อมโยงทางวิทยาศาสตร์

3.) วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย (ผู้นำเสนอ นางสาวนฤมล อิสระ)
ผู้เขียน  ผู้ช่วยศาสตราจารย์  ดร.อัญชลี  ไสยวรรณ
= วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา   ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ  ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสะบาย

4.) โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร (ผู้นำเสนอ นางสาวยุพดี สนประเสริฐ)
ผู้เขียน  ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร
= เด็กได้เรียนรู้ผ่านการสืบเสาะหาความรู้ การคิด ลงมือแก้ปัญหาด้วยประสบการณ์ตรงอย่างเหมาะสมกับวัยและเป็นไปตามหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย   กิจกรรม ในวันนี้นักวิทยาศาสตร์ตัวน้อย จะได้ร่วมกันหาคำตอบจากคำถามที่ว่า โลกของเราดำเนินอยู่ได้อย่างไร

(Applications)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(Evaluation)
Self = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

Friends = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

Teacher = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย อาจารย์จะมีขอเสนอแนะให้เราคิดและแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง เพื่อความเหมาะสมของงานนั้นเอง

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปความลับของแสง


ความรู้ที่ได้รับ

ความหมาย
แสงคือคลื่นชนิดหนึ่ง เหมือนกับคลื่นของน้ำทะเล มีความยาวของคลื่นสั้นมาก และในขนาดเดียวกันก็เคลื่อนที่เร็วมาก 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที เปรียบให้เห็นง่ายๆ ถ้าคนเราวิ่งเร็วเท่าแสง ก็เท่ากับวิ่งรอบโลก 7 รอบใน 1 วินาทีนั้นเอง
       ตาของคนเรานั้นมีรูเล็ก เรียกว่ารูรับแสง เมื่อภาพผ่านรูรับแสงก็จะกลับหัว แต่ที่เราเห็นภาพเป็นปกติไม่กลับหัว เพราะว่าสมองกลับภาพให้เป็นปกติโดยอัตโนมัติแล้ว
       ในหลักการสะท้อนของแสง เมื่อแสงสะท้อนจากวัตถุจะพุ่งไปทิศทางตรงกันข้ามกับทิศทางของแสงที่ส่องลงมาตลอดเวลา เช่นเดียวกับการส่งกระจก จะกลับข้างกับตัวเราเสมอ เหมือนกับการที่เราใส่นาฬิกาที่ข้างขวา แต่เมื่อส่องกระจกก็กลายเป็นใส่นาฬิกาข้างซ้ายเป็นต้น
       การหักเหของแสง เกิดขึ้นเพราะแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางคนล่ะชนิดกัน เช่น เมื่อแสงเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ตู้กระจกที่มีน้ำ น้ำนั้นจะมีความหนาแน่นกว่าอากาศ ทำให้แสงเคลื่อนที่ไปได้ช้ากว่าในอากาศ เส้นทางเดินของแสงจึงหักเหไปด้วย จากนั้นเมื่อแสงพุ่งจากน้ำเข้าสู่อากาศ แสงก็จะเคลื่อนที่ได้เร็ว เส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงจึงกลับมาเป็นเหมือนเดิม
        เงาเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับแสง เกิดขึ้นได้เพราะแสง เป็นหลักธรรมชาติคือเงาของวัตถุจะเกิดขึ้นได้จากแสงที่เดินทางเป็นเส้นตรงไปเรื่อยๆ เมื่อมีวัตถุเข้ามาขว้างทางเดินของแสงไว้ พื้นที่ด้านหน้าของวัตถุก็จะดูดกลืน จะสะท้อนแสงบางส่วนออกมา แต่พื้นที่ด้านหลังของวัตถุ แสงส่องไปไม่ถึงเลยไม่มีการสะท้อนแสงเกิดขึ้น จึงเกิดเป็นพื้นที่สีดำๆ ก็คือเงานั้นเอง
วัตถุต่างๆบนโลกมีด้วยกันทั้งหมด3แบบ
1. วัตถุโปร่งแสง คือแสงทะลุผ่านไปได้บางส่วน มองเห็นไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ้า
2. วัตถุโปร่งใส คือแสงผ่านไปได้ทั้งหมด มองเห็นชัดเจน เช่น กระจกใส
3. วัตถุทึบแสง คือ ดูดกลืนแสงบางส่วนไว้ แล้วสะท้อนส่วนที่เหลือเข้าตาเรา เช่น ตัวเราก็เป็นวัตถุทึบแสง และสิ่งของต่างๆอีกมากมาย
ความสำคัญ
ถ้าไม่มีแสง เราก็ไม่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้ แสงมีความสำคัญมากกับการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นเราอยู่ในความมือแล้วจู่ๆก็สว่าง เราก็จะแสบตามองเห็นไม่ชัด เกิดจากตายังปรับตัวกับแสงสว่างไม่ทัน การเปลี่ยนแปลงของปริมาณแสงเร็วเกินไป เราก็หลับตาสักพักแล้วลืมตาใหม่ ก็จะเหมือนเดิมนั้นเอง
เหตุผลสำคัญ
สาเหตุที่เราสามารถมองเห็นวัตถุต่างๆได้นั้น ก็เพราะว่า แสงส่องมาโดนวัตถุ แล้วแสงก็จะสะท้อนจากวัตถุเข้ามาสู่ตาของเรา เราเลยมองเห็น เท่ากับว่าตาของเรานั้นคือจอสำหรับแสงที่สะท้อนเข้ามาจากวัตถุนั้นเอง ซึ่งการเดินทางของแสงจะพุ่งออกมาเป็นเส้นตรง ไม่เปลี่ยนทิศทางไปจนไปถึงวัตถุ
คุณสมบัติ
คุณสมบัติของแสงเราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง นอกจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวได้แล้ว ยังมีอีก เช่นใช้แผ่นพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟ ที่ออกจากโคมไปยังทิศที่ต้องการ ใช้พลาสติกใสปิดดวงไฟเพื่อลดความจ้าจากหลอดไฟ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าคุณสมบัติแสงดังกล่าวก็ได้นำมาใช้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์เราทั้งนั้น

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16/09/57
เรียนครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

อาจารย์ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษาแล้วถามเเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงว่าเป็นอย่างไร ได้ความรู้จากเพลงอะไรบ้าง ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาบอกชื่อเพลงที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยคนล่ะ 1 เพลง ห้ามซ้ำกัน และอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน ซึ่งในสัปดาห์นี้มี 2 เรื่องคือ

1. บทความเรื่องหลักสูตรวิทยาศาสตร์ จำเป็นหรือไม่? (ผู้นำเสนอ นางสาววีนัส ยอดแก้ว)
= หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วงส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ครบทั้ง 4 ด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ล่ะช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ ผลจากการติดตามผลการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ โดยสอดแทรกเข้าไปในแต่ล่ะกิจกรรม ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆนั้นเอง

2. บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช (ผู้นำเสนอ นางสาวเจนจิรา บุญช่วง)
= การส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับพิชอย่างใกล้ชิด พ่อและแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
      1. การให้เด็กมีส่วนร่วมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงส้ม หรือสลัดผักเป็นต้น พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำเอง เช่นการปุงต่างๆ การเตรียมผักนั้นเอง
      2. การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านด้วยตนเอง
      3. ให้เด็กได้มีโอกาสไปเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับจากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้แล้วนำมาจัดเป็นสวนหย่อมผ่านในบ้านได้นั้นเอง
      4. พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาตืชิ ที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่นสวนดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติรอบตัวนั้นเอง


(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน เมื่ออาจารย์สั่งงานก็จะจดบันทึกเพื่อจะได้จำได้นั้นเอง

อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ


บทความ << คลิกอ่านฉบับเต็มได้ค่ะ ^^

สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
( Teaching Children about Environment Conservation )
ผู้เขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง
      คือการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเรา เพราะการดำรงชีวิตของคนต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปถึงอนาคต แต่เมื่อคนเราใช้สิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ประกอบกับความเป็นอยู่ของคนเรามีเครื่องอำนวยความสะดวก แต่กลับให้โทษต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัญหาที่คนในสังคมได้มาศึกษาหาทางใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและต้องพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และเน้นการปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
การสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญดังนี้อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาดและพัฒนาสิ่งแวดล้อม น้ำ และอากาศให้มีคุณภาพเพื่อให้มนุษย์ได้รับประโยชน์ตลอดไปสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของคนเรา กล่าวคือ สิ่งแวดล้อมอยู่รอบๆตัวคนเรา มีทั้งสิ่งที่มีชีวิตคือ คน พืช สัตว์ และสิ่งที่ไม่มีชีวิตเช่น ดิน หิน ทราย แร่ธาตุ ฯลฯคนเราต้องใช้สิ่งแวดล้อมเพื่อการดำรงชีวิต ใช้กินเป็นอาหาร ใช้เป็นยารักษาโรค ใช้เป็นที่อยู่อาศัย และใช้เป็นเครื่องนุ่งห่มสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นแล้วมีจำนวนจำกัด หากคนเราไม่รู้จักการอนุรักษ์ สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดไป คนรุ่นต่อไปก็จะมีชีวิตอยู่อย่างลำบาก จึงควรให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำและอากาศ ให้เด็กรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย การให้ความรู้แก่เด็กควบคู่กับการฝึกนิสัยที่ดีจะช่วยให้เด็กรู้และเข้าใจเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ไม่ยาก ข้อความรู้ที่เลือกให้เหมาะกับวัยของเด็ก เช่น เมื่อเราหิว เรากระ หายน้ำในยามเหนื่อยและร้อน หนูจึงดื่มน้ำ หนูจะรู้สึกสบายสดชื่น มีกำลังหรือแรงวิ่งเล่นได้อีก นั่นคือประโยชน์ของน้ำ และหากเรามีน้ำกินเช่นนี้ทุกครั้งเราก็มีความสุขเป็นต้น ดังนั้นการที่เราขาดน้ำและอากาศ เราจะเกิดอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ เมื่อเด็กสังเกตตนเองแล้ว ให้เด็กสังเกตสัตว์และพืชเมื่อขาดน้ำจะเป็นอย่างไรเด็กจะเกิดความสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอบรมสั่งสอนจะช่วยพัฒนาจิตใจของเด็กให้เป็นอ่อนโยน รู้จักอยู่ร่วมและรักผู้อื่น รวมทั้งสิ่งแวดล้อม รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้เกี่ยวข้องกัน พึ่งพากันและกันเพราะสิ่งต่างๆทั้งคน พืช สัตว์ต่างมีคุณค่าในตัวเอง
พ่อแม่ผู้ปกครองจะสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ลูกที่บ้านได้จากกิจกรรมดังนี้
- เมื่อพ่อแม่ซื้อของ หากจัดการกับค่าใช้จ่ายได้ควรซื้อของครั้งละมากๆเพื่อลดวัสดุที่ใช้สำหรับบรรจุหีบห่อบางโอกาสที่ซื้ออาหารสด เลือกใช้วัสดุธรรมชาติห่ออาหารบ้าง เช่น ขนมสดทั้งหลายใช้ใบตองใบมะพร้าวห่อหรือทำเป็นกระทง เพราะใบไม้สลายได้ แตกต่างจากถุงพลาสติกและกล่องโฟม
- มีข้อตกลงกับลูกให้ช่วยปิดก๊อกน้ำ ไม่ปล่อยให้ไหลทิ้งโดยไม่จำเป็น เพื่อประหยัดน้ำ
- ชวนลูกเดินหรือขี่จักรยานในระยะทางใกล้ๆแทนการนั่งรถยนต์ที่ต้องใช้น้ำมันและเกิดควันรถ ทำลายอากาศดี

ขอบคุณค่ะ

นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 09/09/57
เรียนครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

(ความรู้ที่ได้รับ)
(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน

อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 02/09/57
เรียนครั้งที่ 3 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

วันนี้เป็นการศึกษานอกห้องเรียน เนื่องจากมีกิจกรรมของคณะ จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมของคณะคือ "โครงการ ศึกษาศาสตร์วิชาการ" "Thinking Faculty" ณ อาคารพลศึกษา(โรงยิม) มีกิจกรรมมากมากมายให้เล่นสนุก ที่ซุ้มต่างๆ

#รูปประกอบค่ะ






ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 26/08/57
เรียนครั้งที่ 2 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

(ความรู้ที่ได้รับ )
(การนำไปประยุกต์ใช้) 
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมกับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย นั้นเอง

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็ทำงานอย่างตั้งใจเมื่ออาจารย์สั่งงาน และคอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียน 

อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

วันจันทร์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 19/08/57
เรียนครั้งที่ 1 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

สัปดาห์นี้เป็นการเปิดภาคเรียนวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  อาจารย์แจกแนวการสอน (Coures Syllabus) และได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชา สิ่งที่จะสอนให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และพูดเรื่องของการเก็บคะแนนของรายวิชานี้ พูดเรื่องวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ว่ามีความสำคัญสำหรับเด้กปฐมวัยอย่างไร นั้นเอง

(สิ่งที่นำไปพัฒนา)
จะนำแนวทางที่อาจารย์ให้คำแนนนำในวันนี้นั้นไปปรับใช้ในเรื่องของการเรียนการสอนในอนาคต เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับเนื้อหาและจุดมุ่งหมายของรายวิชานั้นเอง

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงต่อเวลา การแต่งตัวเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ตั้งใจเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย จดในเรื่องสำคัญลงสมุดบันทึกอยู่เสมอ

เพื่อนร่วมชั้น = เพื่อนๆส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจฟังอาจารย์ดี และเมื่ออาจารย์ถามอะไร ก็จะช่วยๆกันตอบ อาจมีบ้างบางกลุ่มที่คุยกันเสียงดัง

อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์จะสอนและคอยอธิบายให้นักศึกษาฟังอย่างละเอียดเสมอ และคอยกระตุ้นให้นักศึกษาฝึกการคิด โดยการคอยถามเพื่อให้นักศึกษาได้คิดหาคำตอบนั้นเอง


#Coures Syllabus


ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา