n

n

วันพุธที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
( Science Experiences Management for Early Childhood )
อาจารย์ผู้สอน อ. จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 16/09/57
เรียนครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14:10 - 17:30
กลุ่ม 102 วันอังคาร ห้อง 434

อาจารย์ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักศึกษาแล้วถามเเนื้อหาเกี่ยวกับเพลงว่าเป็นอย่างไร ได้ความรู้จากเพลงอะไรบ้าง ต่อมาอาจารย์ให้นักศึกษาบอกชื่อเพลงที่เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยคนล่ะ 1 เพลง ห้ามซ้ำกัน และอาจารย์ก็ให้ออกไปนำเสนอบทความหน้าชั้นเรียน ซึ่งในสัปดาห์นี้มี 2 เรื่องคือ

1. บทความเรื่องหลักสูตรวิทยาศาสตร์ จำเป็นหรือไม่? (ผู้นำเสนอ นางสาววีนัส ยอดแก้ว)
= หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นการส่งเสริมครูปฐมวัยให้สามารถจัดประสบการณ์ในรูปแบบของกิจกรรมบูรณาการที่สามารถช่วงส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยได้ครบทั้ง 4 ด้าน โดยไม่จำเป็นต้อง แยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กในแต่ล่ะช่วงเวลานั้น เป็นการส่งเสริมทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กๆ และควรจะจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ ผลจากการติดตามผลการทดลองใช้ พบว่าครูสามารถที่จะนำกรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ไปจัดกิจกรรมบูรณาการทางวิทยาศาสตร์ในทุกสาระที่ควรรู้ได้ โดยสอดแทรกเข้าไปในแต่ล่ะกิจกรรม ครูยังต้องการตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เยอะๆนั้นเอง

2. บทความเรื่องสอนลูกเรื่องพืช (ผู้นำเสนอ นางสาวเจนจิรา บุญช่วง)
= การส่งเสริมให้ลูกเรียนรู้เกี่ยวกับพิชอย่างใกล้ชิด พ่อและแม่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งสามารถจัดกิจกรรมให้เด็กได้เรียนรู้ง่ายๆจากกิจวัตรประจำวัน เช่น
      1. การให้เด็กมีส่วนร่วมการประกอบอาหารประเภทผัก ผัดผักรวม แกงส้ม หรือสลัดผักเป็นต้น พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ลงมือทำเอง เช่นการปุงต่างๆ การเตรียมผักนั้นเอง
      2. การหัดให้เด็กเพาะปลูกพืชง่ายๆที่บ้านด้วยตนเอง
      3. ให้เด็กได้มีโอกาสไปเลือกซื้อพันธุ์พืชที่เป็นไม้ดอก ไม้ประดับจากแหล่งจำหน่ายพันธุ์ไม้แล้วนำมาจัดเป็นสวนหย่อมผ่านในบ้านได้นั้นเอง
      4. พาลูกไปเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาตืชิ ที่มีพันธุ์พืชหรือต้นไม้ เช่นสวนดอกไม้ ภูเขา น้ำตก ให้เด็กได้สัมผัสธรรมชาติรอบตัวนั้นเอง


(การนำไปประยุกต์ใช้)
เราสามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ ไปใช้ในอนาคตได้ เพราะการเป็นครูเราต้องมีความรู้รอบด้าน และหนึ่งในนั้นก็คือ วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับเด็ก เพราะวิทยาศาสตร์ก็คือสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเรา และเราจะได้รู้ด้วยว่าเรื่องใดที่มีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการของเด็ก กับการนำไปสอนให้กับเด็กปฐมวัย 

(การประเมินผล)
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยไม่ผิดระเบียบของมหาวิทยาลัย ในห้องเรียนก็ตั้งใจเรียนเวลาที่อาจารย์สอนหรืออธิบาย และคอยจดบันทึกลงสมุดอยู่อย่างเสมอ เมื่ออาจารย์ถามคำถาม ก็จะคอยตอบอยู่เสมอ ไม่ว่าคำตอบจะถูกจะผิดก็ตาม

เพื่อนร่วมชั้นเรียน = ส่วนใหญ่ก็จะตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์กันดี จะมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คุยกัน และโดยภาพรวมแล้วเพื่อนๆก็คอยช่วยกันตอบคำถามอาจารย์ มีส่วนร่วมภายในห้องเรียนกันเกือบทุกคน เมื่ออาจารย์สั่งงานก็จะจดบันทึกเพื่อจะได้จำได้นั้นเอง

อาจารย์ผู้สอน = อาจารย์มักสอนไปถามไปอยู่เสมอ ซึ่งเป็นเทคนิคการสอนที่ดีมาก เพราะคอยกระตุ้นให้นักศึกษานั้นได้ฝึกคิดตาม รวมถึงมีความกล้าแสดงออกมากขึ้นในการตอบคำถาม และการเรียนการสอนก็ไม่ตึงเครียดจนเกินไปด้วย

ขอบคุณค่ะ
นางสาว วรัญญา ตุลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น